บริษัท แอคเคาท์มาย จำกัด
ซื้อที่เกี่ยวกับรถยนต์ เคลม VAT ได้หรือไม่?
ตามประมวลรัษฎากรภาษีซื้อที่เกิดจากรถยนต์นั่งมีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งเป็นภาษีซื้อต้องห้ามไม่สามารถเคลมได้ซึ่งการจะดูว่ารถประเภทไหนเป็นรถยนต์นั่งมีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งหรือไม่นั้นหลายคนเข้าใจผิดว่าถ้าจดทะเบียนเป็นรถขนส่งก็ใช้ได้เพราะไม่ใช่รถยนต์นั่ง แต่ตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดไว้ว่ารถยนต์นั่งที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งนั้นจะต้องเป็นรถยนต์ตามความหมายของภาษีสรรพสามิตไม่เกี่ยวกับกฎหมายขนส่งดังนั้นจึงต้องไปดูว่าตามพิกัดอัตรภาษีสรรพามิตนั้น รถกระบะ 4 ประตู จัดอยู่ในรถประเภทไหนซึ่งแต่เดิมรถกระบะ 4 ประตู จัดอยู่ในรถประเภทไหน ซึ่งแต่เดิมรถกระบะ 4 ประตู (Double Cap) จัดอยู่ในประเภท 06.01 คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งดังนั้นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่สามารถเคลมได้
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ตามลิ้งค์ด้านล่างเลยค่ะ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/095/111.PDF
ปัจจุบันกรมสรรพสามิต ได้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตตอนที่ 6 สินค้ารถยนต์ สำหรับรถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและคุณลักษณะที่อธิบดีกรมสรรพสามิตประกาศกำหนดจากพิกัด 06.01 ว่าด้วย "รถยนต์นั่ง" เป็นพิกัด 06.03 ว่าด้วย "รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม และความจุกระบอกสูบไม่เกิน3,250 ลบ.ซม." เป็นผลทำให้รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและคุณลักษณะที่อธิบดีกรมสรรพสามิตประกาศกำหนดพ้นจากการเป็นรถยนต์นั่ง ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัตอัตราภาษีสรรพสามิตตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2560 เป็นต้นไป
ดังนั้นรถกระบะ 4 ประตูที่ได้มาหลังวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2560 ไม่ถือเป็นรถยนต์นั่งอีกต่อไปรายการต้องห้ามที่เกี่ยวกับรถยนต์นั่งทั้งหมดจึงไม่ต้องห้ามตามไปด้วย
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตตอนที่ 6 สินค้ารถยนต์ สำหรับรถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) ต่อภาษีอากร มีดังนี้
1. ภาษีซื้อทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม และความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลบ.ซฒ. สามารถเคลมได้ ไม่ถือว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นค่าซื้อรถกระบะ ค่างวดเช่าซื้อหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับรถเช่น ค่าน้ำมันรถกระบะค ค่าเบี้ยประกัน ค่าซ่อมแซม ฯลฯ เคลมภาษีซื้อได้ทั้งหมด ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม ตามลิงค์นี้เลยค่ะ : https://www.rd.go.th/publish/5206.0.html
2. ค่าเช่าสำหรับรถยนต์กระบะ 4 ประตู ก็ไม่มีเพดานที่ 36,000 บาท /คัน/เดือน หรือ 1,200 บาทต่อวันสามารถลงเป็นค่าเช่าได้ทั้งจำนวนตามที่จ่ายจริง ไม่มีส่วนที่ต้องบวกกลับในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (20) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 315) พ.ศ.2540
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม ตามลิ้งค์นี้เลยค่ะ : https://www.rd.go.th/publish/5939.0.html
3. ต้นทุนสำหรับรถยนต์กระบะ 4 ประตู การคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้มาโดยการซื้อหรือเช่าซื้อ
ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2560 เป็นต้นไป ไม่จำกัดมูลค่าต้นทุน ที่จำนวน 1,000,000 บาท สามารถตัดค่าเสื่อมราคาได้ทั้งหมดทั้งจำนวนไม่มีส่วนที่ต้องบวกกลับในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเพราะส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้าม
ก่อนวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2560 ยังคงจำกัดมูลค่าต้นทุนที่จำนวนไม่เกิน 1,000,000 บาท ตามมาตรา 65 ทวิ(2) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม ตามลิ้งค์นี้เลยค่ะ : https://www.rd.go.th/publish/2369.0.html
ข้อสรุป การเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต สำหรับรถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและคุณลักษณะที่อธิบดีกรมสรรพสามิตประกาศกำหนดตามข้อ 2 ของประกาศกรมสรรพสามิต เรื่องหลักเกณฑ์เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์กระบะสี่ประตู (Double Cab) ลงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2562 จากพิกัดอัตรา 06.01 "รถยนต์นั่ง" เป็นพิกัด 06.03 "รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม" ส่งผลกระทบต่อการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งส่วนของค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา และมูลค่าต้นทุนรถยนต์ในส่วนที่เกินกว่า 1,000,000 และการนำภาษีซื้อเกี่ยวกับรถยนต์ดังกล่าวมาเครดิตหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม นับแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2560 เป็นต้นมา
เพิ่มเติม : สำหรับรถจักรยานยนต์ก็ไม่ถือเป็นรถยนต์นั่งที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งเหมือนกัน ภาษีที่เกี่ยวข้องจังไม่ต้องห้ามเหมือนกับรถกระบะ 4 ประตูทุกประการ
อ้างอิง : ประกาศกรมสรรพามิต เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์กระบะสี่ประตู https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents