การจ่ายเงินปันผล
เงินปันผล มาจากกำไรสุทธิของบริษัท แต่กำไรสุทธินี้ได้เสียภาษีไปแล้วครั้งหนึ่งในรูปของภาษีเงินได้นิติบุคคล และเมื่อบริษัทนำกำไรสุทธิมาจ่ายเป็นเงินปันผล ก็อาจมีการหัก ณ ที่จ่ายเพื่อให้ผู้รับ เสียภาษีล่วงหน้าในส่วนนี้ แต่ก็มีหลายกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ไม่ต้อง หักภาษี และมีทางเลือกในการจัดการภาษีอีกด้วย ลองมาติดตามกันนะคะ
ผู้รับเงินปันผลเป็นบริษัท
** ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย **
◾️ บริษัททั่วไปกฎหมายให้ได้รับยกเว้นภาษีครึ่งหนึ่งของเงินปันผลที่ได้รับและหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ร้อยละ 10
◾️ บริษัทถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 และบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวนและไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
◾️ บริษัทจดทะเบียนไว้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถ้าได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวนและไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
เงินปันผลที่รับยกเว้นภาษีต้องถือหุ้นไว้ไม่น้อยกว่าสามเดือนก่อนได้รับเงินปันผลและภายหลังได้รับเงินปันผล
ผู้รับเงินปันผลเป็นบุคคลธรรมดา
** ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย **
◾️ กฎหมายกำหนดให้หัก ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่ได้รับเงินปันผลไว้ร้อยละ 10 โดยสามารถนำมารวมคำนวณตอนสิ้นปีกับเงินได้ประเภทอื่น และนำเครดิตภาษีเงินปันผลมาใช้สิทธิ
** กรณีที่ได้รับเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีจากผู้จ่ายหลายราย ผู้มีเงินได้จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวที่ได้รับในปีภาษีทุกรายมารวมคำนวณภาษี ไม่สามารถเลือกเฉพาะบางรายนำมารวมคำนวณภาษีเพื่อได้รับเครดิตภาษี หรือ
◾️ เลือกไม่นำเงินได้จากเงินปันผลมารวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปี
อ้างอิง www.accrevo.com