สิ่งที่ต้องระวังในการออกใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีเป็นเอกสารที่นักบัญชีคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะจะต้องจัดทำให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการขององค์กรให้ถูกต้อง แม่นยำ ดังนั้นเราจึงควรมีการทบทวนอยู่เสมอว่า ในการออกใบกำกับภาษีนั้นมีประเด็นใดที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษบ้าง
1. ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
สิ่งสำคัญอันดับแรกที่นักบัญชีจะพลาดไม่ได้เลยก็คือ “ธุรกิจที่มีการจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มเท่านั้นที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้” ถ้าหากกิจการของคุณไม่ใช่ธุรกิจที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ห้ามออกใบกำกับภาษีเด็ดขาด เพราะจะมีความผิดตามกฎหมาย คือ "ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออก" นั่นเอง
2. ออกให้ครบ ออกให้ถูกต้อง
ในการออกใบกำกับภาษีนั้น ผู้ประกอบการต้องกำหนดรายละเอียดต่างๆ ให้ถูกต้องและ ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะเป็นรายการสินค้าและบริการ หน่วยเงิน รายชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น
3. ออกให้ทันสถานการณ์
การออกใบกำกับภาษีนั้นจะต้องกระทำเมื่อเกิดจุดความรับผิดในการเสียมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) ของการขายสินค้าและบริการ หลังจากนั้นจึงส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าและบริการทันที หากฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 90/2(3)
4. เสียภาษีให้ถูกเดือน
เมื่อเกิดจุดความรับผิดในการเสียมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) ต้องลงรายงานภาษีขายใน 3 วัน มิฉะนั้น แล้วจะต้องระวางโทษถูกปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 90(15)
5. รับผิดชอบต่อลูกค้า
ในกรณีที่ใบกำกับภาษีเกิดข้อผิดพลาดใดๆ ต้องมีการยกเลิกใบกำกับภาษีเดิม พร้อมกับออก ฉบับใหม่โดยแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง แต่หากลูกค้าเกิดทำใบกำกับภาษีชำรุดเสียหายก็ต้องออกใบแทนใบกำกับภาษีเป็นการทดแทน
และนี่คือจุดที่ต้องระวังเพื่อการออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้องและไม่เสี่ยงกับการโดนปรับภายหลัง
Cr. ธรรมนิติ